Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Bike Technic
Home›Motorcycle›Bike Technic›SUSPENSION SCOOTER…ระบบรองรับนับว่าสำคัญ

SUSPENSION SCOOTER…ระบบรองรับนับว่าสำคัญ

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
August 25, 2017
5426
0
Share:

         ความเข้าใจเรื่องของมอเตอร์ไซค์ประเภทหนึ่งที่ถูกแบ่งภาคเอาไว้ด้วยคำว่า สกู๊ตเตอร์นั้น กำลังเป็นที่สนใจในกระแสของตลาดเพราะจากคำจำกัดความที่ใช้เรียกมอเตอร์ไซค์ที่มีความจุไม่มาก มีระบบขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ และมีรูปทรงที่แตกต่างด้วยชุดแฟริ่ง ซึ่งในปัจจุบันมันถูกพัฒนาอย่างมากลบข้อด้อยและข้อจำกัดที่เคยมีจนทุกวันนี้มันก้าวขึ้นมาเคียงไหล่ใช้คำว่ามอเตอร์ไซค์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ

แต่ในหลายหลายเรื่องใหญ่ ๆ เรามาจับเรื่องระบบรองรับของรถประเภทนี้กันดูว่า สิ่งที่ควรรู้ในการใช้งานที่เหมาะสมมีอะไรกันบ้าง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน…

เดิมที่รถแบบสกู๊ตเตอร์จะหมายถึงมอเตอร์ไซค์แบบหนึ่งที่มีขนาดไม่ใหญ่ มีขนาดความจุเครื่องยนต์น้อย ทำออกมาเพื่อการใช้งานเฉพาะพื้นที่ เน้นขับขี่ง่ายดูแลรักษาน้อย ในบ้านเราไม่ค่อยเห็นบนถนนเพราะมักจะใช้ตามตรอกซอกซอย ตามมหาวิทยาลัย หรืออาจจะเป็นเพราะมันทำความเร็วได้ไม่มากและการจดทะเบียนต่าง ๆ ยังไม่รองรับทำให้การใช้รถประเภทนี้อยู่ในวงเฉพาะ

สมัยก่อนส่วนมากสกู๊ตเตอร์จะเป็นรถที่นำเข้าแบบรถใช้แล้วมาจากต่างประเทศ แต่เมื่อในต่างประเทศมีการพัฒนาสกู๊ตเตอร์ให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้นทั้งเรื่องของขนาดตัวรถ ความจุเครื่องยนต์ ระบบรองรับ ส่งผลให้ความนิยมใช้รถประเภทนี้มากขึ้นและนับวันจะมีโมเดลใหม่ ๆ และทันสมัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

บ้านเราก็เช่นเดียวกัน หลังจากที่มีกระแสของรถที่ใช้ระบบส่งกำลังแบบสายพานและขับเคลื่อนในลักษณะออโตเมติกออกมาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทุกวันนี้เป็นที่รู้จักและเลือกใช้ของชาวสองล้ออย่างมาก ความเหมือนที่แตกต่างของระบบรองรับในรถแบบสกู๊ตเตอร์นี้ ต้องดูที่ลักษณะของการออกแบบ

สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดตั้งแต่ที่ด้านหน้า ถึงจะใช้รูปแบบของ เทเลสโคปิค หรือ โช้คอัพแบบกระบอกยืดยุบที่ไม่แตกต่างกันมากนักทางด้านการทำงาน ถ้ามองบนพื้นฐานของคุณสมบัติโช้คอัพ แต่สิ่งที่จะเห็นได้ซึ่งเป็นผลพวงมาจากลักษณะของรถ นั่นคือจุดจับยึดและลักษณะกดทับ

ตัวรถแบบสกู๊ตเตอร์ที่มีวัตถุระสงค์เพื่อการวิ่งบนเส้นทางเรียบเป็นหลัก ตัวรถเต็มไปด้วยแฟริ่งและส่วนประกอบที่มากมาย น้ำหนักที่ต้องแบกรับบางครั้งจะมีมากกว่า พื้นที่ช่วงจับยึดแกนกระบอกโช้คอัพซึ่งมีระยะประมาณหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่มากนัก เมื่อมีน้ำหนักที่แบกรับอยู่ด้านบนระดับหนึ่งแล้วและ การขับบนเส้นทางขรุขระ เนินลูกระนาดด้วยความเร็วสูงอาจจะทำให้เกิดการยุบจนกระบอกโช้คอัพกระแทก เหมือนเวลาการเบรกด้วยความแรงทันทีทันใด หากเกิดบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อโช้คอัพหน้าอย่างรวดเร็ว

ระบบรองรับด้านท้ายจะเห็นว่าส่วนใหญ่รถประเภทนี้ ชิ้นส่วนของห้องส่งกำลังจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของตัวรถด้านหลัง ต่อเนื่องกับล้อและโช้คอัพ บางคนเห็นแบบนี้แล้วนึกเข้าใจไปว่า ด้วยชิ้นส่วนขนาดใหญ่น่าจะมีความแข็งแรงมากกว่าแบบที่เป็นลักษณะของสวิงอาร์มในมอเตอร์ไซค์ทั่วไป แต่แท้จริงแล้วขนาดมันไม่ใช่เรื่องของความแข็งแรงเพียงอย่างเดียว

รูปแบบของวัสดุ จุดยึด จุดหมุนจุดที่รับแรง ทั้งหมดคือส่วนประกอบ จุดที่รับแรงมีอยู่หลายจุดตั้งแต่บริเวณของลูกปืนแบริ่งที่เป็นจุดหมุนของล้อ หูยึดโช้คอัพทั้งบนและล่าง และจุดยึดส่วนต้นด้านเครื่องยนต์ อย่างที่บอกเอาไว้ว่ารถประเภทนี้ทำมาเพื่อการขับขี่บนทางเรียบเป็นสำคัญ การให้ตัวและการดูดซับแรงสั่นสะเทือนจะมีการตอบสนองอยู่ในระดับที่เหมาะสมในทางเรียบ ถ้าเจอเส้นทางหลุมเนิน ทางขรุขระความกระด้าง กระเด้งแฉลบจะเกิดขึ้นได้ถ้าใช้ความเร็วสูงเกินไป จึงจำเป็นต้องบังคับคงบคุมให้เหมาะสม และการสั่นสะเทือนใช้งานสบุกสมบันมาก ๆ จะทำให้ชิ้นส่วนภายในต้องได้รับการบำรุงรักษาที่รวดเร็วและบ่อยครั้งมากขึ้น

แต่ด้วยคุณภาพและวัสดุที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนปัจจุบัน ทำให้มีความแข็งแรงทนทานและมีการเผื่อระยะสำหรับการขับขี่รวมไปถึงการเซ็ตอัพโช้คอัพหรือระบบรองรับมาอย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถนนเมืองไทยแล้ว ในเรื่องของการใช้งานย่อมที่จะไม่มีปัญหาและใช้งานกันได้อย่างเต็มที่สำหรับสกู๊ตเตอร์ หรือ บิ๊ก-สกู๊ตเตอร์ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป้นสัญญาณบอกว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว…

 

 

 

เรื่อง : ศิปิวรรธ ปานกลาง

ขอบคุณภาพ: www.visordown.com , www.motorcycle.com.vsassets.com ,www.1.bp.blogspot.com , www.cdn.shopify.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

 

Tagsbig bikescooter
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • Millennium Auto Group จัดงานฉลองครบรอบ 25 ปี มอบ Exclusive Program สำหรับ BMW The i7
  • ฮุนได เปิดตัว All-New Hyundai Santa Fe ราคา 1.59 ล้านบาทในรุ่นเริ่มต้น
  • PROMOTION MG JULY 2025
  • PROMOTION Mercedes-Benz JULY 2025
  • PROMOTION MAZDA JULY 2025

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram