Mile Green รุกขยายโครงสร้างพื้นฐาน EV ทั่วไทย หนุนการเดินทางแห่งอนาคต

Mile Green (ไมล์ กรีน) บริษัทผู้พัฒนายานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่มีสำนักงานใหญ่ทั้งในฮ่องกง และประเทศไทย ประกาศแผนการขยายโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างรวดเร็วทั่วประเทศไทย ถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบขนส่งที่ยั่งยืน
ไมล์ กรีน มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมเสริมศักยภาพการเดินทางในเขตเมือง ด้วยการติดตั้งสถานีชาร์จด่วนและสถานีสลับแบตเตอรี่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อรองรับทั้งผู้ใช้ทั่วไปและผู้ขับขี่เชิงพาณิชย์อย่างไรเดอร์และขนส่ง
เดินหน้าเต็มสูบ สร้างเครือข่ายสถานีชาร์จเร็ว–สลับแบตเตอรี่ ครอบคลุมทั่วประเทศ
– ไมล์ กรีนพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยด้วยการเร่งติดตั้งสถานีชาร์จเร็วและสถานีสลับแบตเตอรี่ (Battery Swapping Station – BSS) ที่ทันสมัย รองรับการใช้งานทั้งผู้บริโภคทั่วไป (B2C) และผู้ขับขี่สายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นไรเดอร์ส่งอาหาร พนักงานขนส่ง หรือรถโลจิสติกส์
– สถานีดังกล่าวจะถูกกระจายตามหัวเมืองใหญ่ ชานเมือง และย่านพาณิชยกรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและทั่วถึง ไฮไลต์สำคัญคือระบบสลับแบตเตอรี่แบบรวดเร็ว ที่ช่วยลดเวลารอชาร์จ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้งานในชีวิตประจำวัน
– ทุกสถานีได้รับการออกแบบให้สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของไทย ด้วยระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ และเทคโนโลยีป้องกันไฟไหม้อันล้ำสมัย
– ภายใต้โครงการนี้ ไมล์ กรีน ยังได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรระดับแนวหน้ากว่า 30,000 จุดจำหน่ายทั่วประเทศ ส่งผลให้โซลูชัน EV เข้าใกล้ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมสีเขียวในภูมิภาค
ผู้นำวิสัยทัศน์ใหม่ พลิกโฉมการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด
ไมล์ กรีนขับเคลื่อนด้วยทีมผู้บริหารระดับโลก ได้แก่: คุณ Maverick Hui – ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร, คุณชัชวาล เจียรวนนท์ – ประธานกิตติมศักดิ์และกรรมการบริษัท, คุณ Gigi Chan – ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริษัท, รวมถึงคณะกรรมการบริษัท ได้แก่ คุณ Dannis Lee, คุณ Cliff Ip, คุณพิทักษ์ พฤทธิสาริกร และคุณ Ferheen Mahomed โดยมีคุณ Raymund Chao ดำรงตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษา
ผู้นำกลุ่มนี้มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านยานยนต์ การเงิน และการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อให้กลยุทธ์ของ Mile Green ในไทยตอบโจทย์ทั้งมาตรฐานสากลและความต้องการของตลาดท้องถิ่น
ระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และเปิดกว้างทางการเงิน
ไมล์ กรีนยังพัฒนาโซลูชันเพื่อสร้างระบบนิเวศ EV แบบครบวงจร ประกอบด้วย:
– ยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ทั้งสกูตเตอร์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า รถตุ๊กตุ๊ก และรถส่งของ
– แอปพลิเคชันสำหรับดูตำแหน่งสถานีสลับแบตเตอรี่ จัดการรถ และปลดล็อกรถแบบดิจิทัล
– เทคโนโลยีฟินเทคและบล็อกเชน สำหรับการเงินดิจิทัล เครดิตคาร์บอน และธุรกรรมพลังงาน
เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้การเป็นเจ้าของและใช้งาน EVเเป็นเรื่องที่จับต้องได้สำหรับประชาชนในเมืองและพื้นที่รอบนอก
เชิดชูองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนของไทย
ไมล์ กรีนจัดงาน ESG Trailblazer Awards เพื่อยกย่ององค์กรไทยที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ได้แก่ Kerry Logistics, TenPao Group และ Cornerstone
เรื่อง: พูนทวี สุวัตถิกุล
ขอบคุณข้อมูล: ไมล์ กรีน
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
SCiB™ แบตเตอรี่ล้ำยุคจากโตชิบา: ยกระดับความปลอดภัยและความทนทานสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
โตชิบา คอร์ปอเรชั่น เปิดตัวแบตเตอรี่ลิเที
มาพร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีศั
ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608*1 ซึ่งพลังงานไฟฟ้าถือเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว
การคาดการณ์ชี้ให้เห็นว่าความต้องการแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อาจเพิ่มสูงถึง 600 กิกะวัตต์ชั่วโมงภายในปี พ.ศ. 2578
อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนแนวโน้มการเติบโตที่ชัดเจน แต่สัดส่วนความต้องการแบตเตอรี่สำหรับ รถมอเตอร์ไซค์และรถสามล้อ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบขนส่งสาธารณะ*2 กลับมีเพียงร้อยละ 2.8 เท่านั้น
ผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ายังคงเผชิญความท้าทายในการพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะประเด็นด้านความปลอดภัยของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบดั้งเดิม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้เมื่อได้รับแรงกระแทกทางกายภาพ อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านอายุการใช้งานที่เสื่อมสภาพตามกาลเวลา
ปัญหาเหล่านี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นภายใต้สภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้การเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุ ส่งผลให้การนำรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะเป็นไปได้ยาก
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของแบตเตอรี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ผลิตจำเป็นต้องพัฒนาโซลูชันที่ล้ำสมัยเพื่อลดข้อจำกัดของแบตเตอรี่ ก้าวข้ามอุปสรรคด้านสิ่งแวดล้อม และผลักดันให้รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย พร้อมรองรับการใช้งานจริงภายใต้สภาพแวดล้อมของภูมิภาคนี้