J.D. Power เผลผลศึกษาคุณภาพรถยนต์ใหม่-ผู้บริโภคประสบปัญหาระบบอินโฟเทนเมนท์มากขึ้น

J.D. Power เผยผลศึกษาคุณภาพรถยนต์ใหม่ในไทย 2568 พบปัญหาระบบอินโฟเทนเมนท์เพิ่มขึ้น – โตโยต้า ครองมากสุด 4 รางวัล ด้านมิตซูบิชิ และบีวายดี คว้าชัยแบรนด์ละ 2 รางวัล
พบผู้ใช้รถยนต์ในไทยรายงานปัญหาคุณภาพรถเพิ่มขึ้นในปีนี้ (89% เทียบกับ 81% ในปี 2566) โดยระบบอินโฟเทนเมนท์มีอัตราการพบปัญหาสูงสุด ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการปรับปรุงคุณภาพรถยนต์, ตามรายงานผลการศึกษาคุณภาพรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยปี 2568 (J.D. Power 2025 Thailand Initial Quality Study (IQS)) — ฉบับที่ 1
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของรถยนต์พลังงานใหม่ในประเทศไทย การศึกษานี้จึงได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ครอบคลุมถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEVs) และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เจ้าของรถยนต์พลังงานใหม่ (NEVs) และเจ้าของรถยนต์ทั่วไป (เครื่องยนต์สันดาปภายในหรือไฮบริด) รายงานปัญหาคุณภาพในระดับใกล้เคียงกัน โดยเจ้าของรถยนต์พลังงานใหม่ (NEVs) รายงาน 179 ปัญหาต่อรถ 100 คัน (PP100)
ส่วนเจ้าของรถทั่วไปมีระดับปัญหาที่ 177 ( PP100 ) เจ้าของรถยนต์พลังงานใหม่ (NEVs) พบปัญหามากกว่าในหมวดระบบปรับอากาศและอินโฟเทนเมนท์ ขณะที่เจ้าของรถทั่วไปพบปัญหามากกว่าที่เบาะนั่ง, ตัวถังภายนอกรถยนต์ และภายในห้องโดยสาร คะแนน PP100 ที่ต่ำกว่าบ่งชี้ถึงปัญหาที่น้อยกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือระดับคุณภาพรถที่สูงกว่า
“เจ้าของรถรุ่นใหม่มักเชื่อมต่อกับอุปกรณ์มือถืออย่างใกล้ชิด และถือเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน” ไชยวัฒน์ เกษาพร ผู้จัดการโครงการอาวุโสและหัวหน้านักวิเคราะห์จาก Differential ประเทศไทย กล่าว “ดังนั้นพวกเขาจึงคาดหวังการเชื่อมต่อที่ไร้รอยต่อเมื่อขึ้น และลงจากรถ อย่างไรก็ตามระบบอินโฟเทนเมนท์ที่นำเสนอในรถยนต์รุ่นปัจจุบันยังคงเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผู้ใช้มักประสบปัญหาการเชื่อมต่อบลูทูธ, ช่องจ่ายไฟ/ชาร์จไฟสำหรับอุปกรณ์พกพาไม่เพียงพอ, ความเร็วในการชาร์จช้า และหน้าจอสัมผัสที่ไม่ตอบสนอง”
รุ่นรถที่ได้อันดับสูงสุดในด้านคุณภาพ
• โตโยต้า ยาริส เอทีฟ ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็ก (Compact Car) 166 PP100
•ฮอนด้า ซิตี้ อี:เอชอีวี แฮทช์แบ็ก ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางระดับต้น (Entry Midsize Car) 167 PP100
• โตโยต้า ยาริส ครอส ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก (Compact SUV) 165 PP100
•โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดใหญ่ (Large SUV) 170 PP100
• มิตซูบิชิ เอ็กซ์แพนเดอร์ ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์ (MPV) 178 PP100
•อีซูซุ ดีแมคซ์ สปาร์ค ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถกระบะตอนเดียว (Pickup Single Cab) 173 PP100
• โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ พรีรันเนอร์ สมาร์ทแค็บ และ โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ สมาร์ทแค็บ ได้อันดับสูงสุดเท่ากันในกลุ่มรถกระบะตอนขยาย (Pickup Extended Cab) 188 PP100
•มิตซูบิชิ ไทรทัน พลัส ดี-แค็บ ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถกระบะสี่ประตู (Pickup Double Cab) 165 PP100
• บีวายดี ดอลฟิน ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV Car) 167 PP100
•บีวายดี แอตโต้ 3 ได้อันดับสูงสุดในกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงพลังงานใหม่ (NEV SUV) 180 PP100
“การวัดคุณภาพของรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่ครอบครองส่วนแบ่งการตลาดเดิมและผู้เล่นหน้าใหม่ในกลุ่ม NEV ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและเสริมสร้างชื่อเสียงของแบรนด์” อัตสึชิ คาวาฮาชิ ผู้อำนวยการอาวุโสของ เจ.ดี. พาวเวอร์ ประเทศญี่ปุ่น กล่าว “ด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้เพื่อปรับปรุงคุณภาพอย่างทันท่วงที จะช่วยให้ผู้ผลิตยานยนต์สามารถสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่แข็งแกร่ง เพิ่มมูลค่าขายต่อ ลดต้นทุนการรับประกัน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดรถยนต์ของไทยได้”
การศึกษานี้จัดทำร่วมกับ ดิฟเฟอเรนเชียล โดยวัดปัญหาที่พบใน 10 ประเภทปัญหาคุณภาพสำหรับรถเครื่องยนต์สันดาปภาพใน (ICE), ไฮบริด (HEV, PHEV) และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) โดยมีประเภทของปัญหาคุณภาพดังนี้: ระบบปรับอากาศ, ระบบช่วยขับ, ประสบการณ์ในการขับขี่, ภายนอกรถ, เครื่องยนต์/มอเตอร์และระบบส่งกำลัง, ฟีเจอร์/ปุ่มควบคุม/หน้าจอ, อินโฟเทนเมนท์, ภายในรถ และเบาะนั่ง สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) จะมีหมวดแบตเตอรี่และการชาร์จเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งหมวด
ผลการศึกษาคุณภาพรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยปี 2568 (J.D. Power 2025 Thailand IQS) — ฉบับที่ 1 อ้างอิงจากการตอบแบบสอบถามของเจ้าของรถใหม่จำนวน 4,721 ราย ซึ่งซื้อรถระหว่างเดือนมิถุนายน 2567 – มกราคม 2568 โดยทำการสำรวจภาคสนามระหว่างเดือนธันวาคม 2567 – กุมภาพันธ์ 2568 ใน 22 เมืองใหญ่ทั่วประเทศ ครอบคลุมรถยนต์ 55 รุ่นจาก 14 แบรนด์ โดยจัดอันดับจากจำนวนปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน (PP100) ซึ่งคะแนนน้อยแสดงถึงคุณภาพที่ดีกว่า สำหรับ ผลการศึกษาคุณภาพรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยปี 2568 (J.D. Power 2025 Thailand IQS) — ฉบับที่ 2 จะเผยแพร่ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
‘J.D. Power’ เผยอีซูซุรั้งอันดับ 1 ผลสำรวจความพึงพอใจบริการหลังการขายลูกค้าชาวไทย
เรื่อง: พูนทวี สุวัตถิกุล
ขอบคุณข้อมูล: J.D. Power
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
J.D. Power 2568
ผลการศึกษาวิจัยดัชนีด้านการบริการลูกค้าในประเทศไทย ประจำปี 2561 โดยเจ.ดี. พาวเวอร์ (J.D. Power 2018 Thailand Customer Service Index (CSI) StudySM) ระบุว่าเจ้าของรถยนต์ในกลุ่มที่ชำระค่าบริการสูงกว่าที่คาดหวังไว้ (17%)
มีความพึงพอใจต่ำกว่ากลุ่มเจ้าของรถยนต์ที่ชำระค่าบริการตรงตามที่คาดไว้หรือค่าบริการต่ำกว่าที่คาดไว้ (83%) (คะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 751 และ 847 ตามลำดับ จากคะแนนเต็ม 1,000 คะแนน)
ความแม่นยำในการประเมินค่าบริการมีผลอย่างมากต่อความพึงพอใจของลูกค้า โดยลูกค้าที่ได้รับแจ้งราคาประเมินที่ถูกต้องมีความพึงพอใจสูงกว่ามาก เมื่อเทียบกับลูกค้าที่มีค่าใช้จ่ายจริงในใบเสร็จสูงกว่าที่ประเมินไว้ (839 คะแนน และ 714 คะแนน ตามลำดับ)