Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Bike Technic
Home›Motorcycle›Bike Technic›Electronic Fuel Injection System Motorcycle…มอเตอร์ไซค์ระบบหัวฉีด ใช้อย่างไรให้คุ้มค่า…

Electronic Fuel Injection System Motorcycle…มอเตอร์ไซค์ระบบหัวฉีด ใช้อย่างไรให้คุ้มค่า…

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
October 6, 2017
10078
0
Share:

         มอเตอร์ไซค์ที่เห็นใช้งานกันอยู่บนท้องถนนทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะมีการใช้ระบบไฟฟ้าหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นส่วนสำคัญในการควบคุม ความเข้าใจในการสื่อสารด้วยคำว่าใช้ระบบฉีดเชื้อเพลิงหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนหนึ่งคือคำบอกกล่าวถึงลักษณะควบคุมการทำงานระบบจ่ายเชื้อเพลิงด้วยไฟฟ้า แต่ที่จริงระบบไฟฟ้าในมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ ๆ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และปัญหาของการเสียหาย รวนหรือทำงานผิดปกติ มาจากระบบควบคุมที่ทำงานผิดพลาด

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ที่สามารถทำงานได้สมรรถนะสูง ๆ ล้วนแล้วแต่ใช้ระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาควบคุมทั้งสิ้น บางครั้งการใช้งานหรือการดูแลบำรุงรักษา มอเตอร์ไซค์ที่ทันสมัยแบบนี้อาจจะเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะบางทีมันอาจจะดูเป็นการใช้งานทั่วไป แต่อย่าลืมว่ายิ่งทันสมัยมันจะยิ่งซับซ้อนและต้องการความเข้าใจ ถ้าเข้าใจในพื้นฐานที่เหมาะสมแล้วจะสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่ายาวนาน

ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ในมอเตอร์ไซค์ หรือแม้กระทั่งในรถยนต์แทบจะมีพื้นฐานไม่แตกต่างกันในหลักการ จะต้องมีกล่องควบคุมหรือ ECU ที่ประมวลผลเพื่อควบคุมสั่งการให้ระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทำงานไปตามสเป็คที่ถูกกำหนดหรือโปรแกรมเอาไว้ แทบทุกส่วนของเครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ล้วนแล้วแต่ใช้ระบบไฟฟ้ามีเซ็นเซอร์รับส่งข้อมูลเพื่อใช้ประมวลผล อย่างเช่นมุมคันเร่ง มุมลิ้นปีกผีเสื้อ ปริมาณอากาศที่เข้าไปเผาไหม้ ปริมาณก๊าซที่เผาไหม้ออกมาแล้ว ยิ่ง ECU มีความทันสมัยมากเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้การควบคุมและออกแบบการทำงานทำได้ละเอียด จะสั่งให้ฉีดเชื้อเพลิงเท่าไหร่ องศาไหน ปริมาณ จำนวนมากน้อย ได้ละเอียดมากขึ้นเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นสายไฟอันยึบยับในรถมอเตอร์ไซค์ที่ใช้ระบบหัวฉีดและใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม

กล่องควบคุมหรือ ECU นั้น ไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์ที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรมถูกบรรจุไว้ อีกทั้งจุดเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลหรือจุดเซ็นเซอร์ต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมหรือเป็นตัวที่ทำงาน ทั้งหมดใช้กระแสไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่ใช้จะมีค่ากระแสที่ละเอียดและเหมาะสมสำหรับอุปกรณ์นั้น ถ้าเปนพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ย่อมต้องการกระแสไฟแรงเคลื่อนที่ละเอียดและใช้ปริมาณไม่มากแต่ต้องมีการเลี้ยงระบบอย่างต่อเนื่อง แต่ในมอเตอร์ไซค์มันก็มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟฟ้ากระแสสูงร่วมอยู่ด้วย เรียกว่าพลังงานไฟฟ้านั้นมีความสำคัญ

จะสังเกตว่าต้นกำเนิดของพลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นชุดแบตเตอรี่หรือชุดกำเนิดไฟฟ้าในเครื่องยนต์ทั้งหมดต้องทำงานได้อย่างสมบูรณ์ หลายครั้งบางคนคุ้นเคยกับการใช้งานจนกระทั่งแบตเตอรี่อ่อนหรือหมดไฟถึงจะทำการเปลี่ยน แต่แท้จริงไม่ควรจะปล่อยให้เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อแบตเตอรี่เริ่มปล่อยกระแสไฟได้ไม่สม่ำเสมอ การดึงเอากระแสไฟในระบบไฟชาร์จก็ย่อมที่จะไม่สม่ำเสมอ เมื่อใช้งานไปอาจจะเกิดการช็อต เกิดการลัดวงจร ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีการออกแบบมาเพื่อรองรับเช่นมีระบบกรองกระแสหรือพวกตัดกระแสป้องกันการลัดวงจร มันก็จะช่วยป้องกันได้ แต่ถ้ามันค่อย ๆ เป็น ปล่อยไว้เนิ่นนานมันก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้

อีกทั้งสเป็คของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ แบตเตอรี่อย่าใช้สเป็คที่ผิดเพี้ยน การตัดต่อสายไฟการใช้งานระบบไฟต้องหมั่นตรวจสอบ ถ้าพบอาการผิดปกติต้องรีบตรวจสอบแก้ไข เรียกว่าถ้าจะทำอะไรเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าอย่าทำโดยไม่ถูกต้อง เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดเสียหายขึ้นได้ เล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนจากกันไปควรเข้าใจไว้อย่างหนึ่งว่ายิ่งทันสมัยจะยิ่งบอบบางและหวั่นไหวง่าย ลักษณะของการขับการขี่อย่างเดียวจะไม่เหมาะสมกับมอเตอร์ไซค์สมัยใหม่ หมั่นดูแลเพื่อใช้งานได้ยาวนานและคุ้มค่าดีกว่าซ่อมเมื่อเสียหาย…

 

       

เรื่อง : ศิปิวรรธ ปานกลาง

ขอบคุณภาพ: /www.rbracing-rsr.com / www.danradigan.files.wordpress.com / www.en.haojue.com /www.brocksperformance.com / www.magnetimarelli.com /

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

 

TagsElectronic Fuel Injection System Motorcycleมอเตอร์ไซค์ระบบหัวฉีด
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • เรเว่ สานต่อสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลัก BYD SEA V League 2025 ลีกตบลูกยางอาเซียน
  • Nissan Qashqai อัปเดตใช้ขุมพลัง e-Power เจเนเรชันที่สาม
  • Porsche ร่วมมือกับ Ferragamo ทำรถรุ่นพิเศษฉลอง 40 ปีในอิตาลี
  • BMW 540i xDrive Legacy Edition รุ่นเครื่องยนต์ 6 สูบไม่เสียบปลั๊กสำหรับแคนาดา
  • Toyota Land Cruiser Commercial เปลี่ยนจากรถเอสยูวีเป็นรถเพื่อการพาณิชย์

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram