Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Motorsport
Home›Motorsport›22 ปีที่ไม่มี Senna

22 ปีที่ไม่มี Senna

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
May 4, 2016
5263
0
Share:

ayrton_senna_story_003

ใครที่เป็นแฟน F1 ตัวยงคงทราบดีว่าเมื่อถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ถือเป็นวันแห่งการสูญเสียของวงการ เพราะนี่คือวันที่ยอดนักแข่งชาวบราซิล ไอร์ตัน เซนน่า ต้องจบชีวิตลงด้วยวัยเพียงแค่ 34 ปีหลังประสบอุบัติเหตุในรายการซานมารีโน่ กรังด์ปรีซ์เมื่อ 22 ปีที่แล้ว

สำหรับแฟนๆ ที่ติดตามการแข่งขัน F1 คงทราบดีถึงฝีมือ พรสวรรค์ และความยอดเยี่ยมในการเป็นนักแข่ง F1 และก็จริงอยู่ที่แม้ว่าเขาจะเป็นแชมป์โลกประเภทนักแข่ง F1 น้อยกว่าที่ฮวน มิเกล ฟานจิโอ, อแลง พรอสต์ หรือมิชาเอล ชูมัคเกอร์ทำได้ แต่ต้องยอมรับว่านี่คือ ชื่อนักแข่งคนแรกๆ ที่มักจะถูกกล่าวถึงอยู่เสมอ เวลายิงคำถามที่ว่า ‘ใครคือนักแข่ง F1 คนแรกที่คุณนึกถึง’ ซึ่งแน่นอนว่าคำถามนี้จะต้องถามแฟน F1 ที่มีอายุสักหน่อย

ayrton_senna_story_001

ไอร์ตัน เซนน่า หรือที่มีชื่อเต็มๆ ว่า Ayrton Senna da Silva เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 1960 ที่เมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1994 หรือเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ซึ่งเขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในระหว่างการแข่งขันรายการซานมารีโน่ กรังด์ปรีซ์ ที่สนาม Autodromo Enzo e Dino Ferrari หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า อิโมล่า

อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่าชื่อของเซนน่า มีความยิ่งใหญ่และอยู่ในความทรงจำของแฟนๆ และจากการสำรวจของนิตยสาร Autosport ของอังกฤษ โพลล์เมื่อปี 2009 ระบุว่าเขาคือนักแข่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตำนาน F1 จากนักแข่งทั้งในอดีตและปัจจุบันจำนวน 217 คนที่ถูกคัดเลือกขึ้นมา แม้ว่าจะคว้าแชมป์โลกเพียงแค่ 3 ครั้ง (1988,1990, 1991) เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่านักแข่งที่ประสบความสำเร็จในสนามแข่งตามรายนามที่เขียนถึงข้างต้น

10 ปีนับจากปี 1984-1994 ในชีวิตการเป็นนักแข่งของเซนน่าซึ่งร่วมหัวจมท้ายเพียง 4 ทีมตลอดการเป็นนักแข่งอาชีพ (Toleman, Lotus, McLaren และ Williams) เขาครองและเคยครองสถิติในแวดวง F1 หลายอย่าง เช่น

-การเป็นนักแข่งที่คว้าแชมป์โมนาโก กรังด์ปรีซ์ ซึ่งเป็น Street Circuit มากที่สุดจำนวน 6 ครั้ง (1987,1989, 1990, 1991, 1992, 1993) และสถิตินี้อาจจะโดนทำลายได้ ถ้ามิชาเอล ชูมัคเกอร์สามารถคว้าแชมป์รายการนี้ได้เพิ่มเติมในตลอดช่วงสัญญา 3 ปีที่เขากลับมาลงแข่งขัน F1 อีกครั้งในนามทีมเมอร์เซเดส จีพี เพราะในตอนนี้ชูมัคเกอร์ทำได้ 5 ครั้งเท่ากับเกรแฮม ฮิลล์ พ่อผู้ล่วงลับของเดมอน ฮิลล์ แชมป์โลก F1 ปี 1996

-การเป็นนักแข่งที่ออกสตาร์ทในตำแหน่งโพล โพซิชั่นมากครั้งที่สุด ซึ่งตัวเลขจำนวน 65 ครั้งของเซนน่ายืนยงคงกะพันตั้งแต่ปี 1994 และกว่าที่จะมีคนมาแทนที่ได้ก็ต้องรอจนถึงปี 2006 ซึ่งก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นชูมัคเกอร์นั่นเอง ซึ่งรวมแล้วชูมี่ทำเอาไว้ 68 ครั้งตลอดการเป็นนักแข่งอาชีพตั้งแต่ปี 1991-2006

ขณะที่สถิติในการคว้าแชมป์กรังด์ปรีซ์มากครั้งที่สุดนั้น เซนน่าทำได้เพียง 41 สนาม อยู่ในอันดับที่ 3 โดยเป็นรองชูมัคเกอร์ (91 สนาม) และพรอสต์ คู่ปรับตลอดกาลของเขา (51 สนาม)
นอกจากจะได้รับการยอมรับในเรื่องของฝีมือแล้ว เซนน่ายังขึ้นชื่อในเรื่องความดุดันของการขับ ซึ่งตรงนี้พรอสต์และชูมัคเกอร์เคยเจอมาแล้ว โดยเหตุการณ์ที่โด่งดังมากคือ การแข่งขันเจแปนีส กรังด์ปรีซ์ในปี 1989 และ 1990 ยุคที่ทั้ง 2 คนขับเคี่ยวกันตั้งแต่ยังเป็นเพื่อนร่วมทีมแม็คลาเรนจนมาถึงปีที่แยกฝั่งกันคนละค่าย

ในปี 1989 เซนน่าและพรอสต์เป็นเพื่อนร่วมทีมแม็คลาเรน-ฮอนด้า ซึ่งกำลังขับเคี่ยวแย่งชิงตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักแข่ง แต่คะแนนและอันดับของพรอสต์ดีกว่า ซึ่งเหตุการณ์มาเกิดขึ้นตอนช่วงท้ายของการแข่งขัน เพราะรถแข่งของทั้งคู่เกี่ยวกัน พรอสต์หลุดออกจากสนามและกลับมาไม่ได้ ขณะที่เซนน่าให้เจ้าหน้าที่สนามช่วยเข็นจนกลับมาลงแข่งได้และเข้าพิตเพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหายก่อนที่จะจบการแข่งขัน แต่สุดท้ายก็โดนจับดิสควอลิฟาย และแชมป์โลกก็ตกเป็นของพรอสต์ไป

ayrton_senna_story_002

ส่วนในปี 1990 เหตุการณ์เกิดขึ้นในรายการนี้ พร้อมกับบริบทที่คล้ายๆ กัน คือ ทั้งคู่กำลังไล่บี้เพื่อตำแหน่งแชมป์ โดยเซนน่าออกสตาร์ทในตำแหน่งโพล โพซิชั่น ส่วนพรอสต์ซึ่งย้ายไปอยู่กับเฟอร์รารี่ออกสตาร์ทในอันดับที่ 2 แต่ทว่าการจัดเรียงอันดับออกสตาร์ทบนกริดตามปกติแล้วอันดับที่ดีกว่าในแถวหรือ Row เดียวกันจะต้องอยู่ในตำแหน่งฝั่งซ้ายมือที่สามารถเข้าไลน์ที่ได้เปรียบในช่วงโค้งแรก

แต่ปรากฏว่าตำแหน่งสตาร์ทของเซนน่าในสนามซึซึกะกลับอยู่ขวามือ ซึ่งเสียเปรียบในการหาไลน์เข้าโค้งแรกให้กับพรอสต์ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 2 และทางเซนน่ากับเพื่อนร่วมทีมคือแกร์ฮาร์ด แบร์เกอร์ได้ยื่นหนังสือประท้วงไปทางกรรมการสนาม ซึ่งกรรมการสนามก็ยอมรับ แต่ทาง FISA ซึ่ง Jean Marie Balestre กลับปฏิเสธถึงเรื่องนี้ และก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ผลก็คือ เซนน่าประกาศว่าถ้ายังเป็นอยู่อย่างนี้ การแข่งขันไม่พ้นโค้งแรกแน่นอน และก็เกิดขึ้นจริง เมื่อเขาชนพรอสต์ในช่วงโค้งแรกจนออกจากการแข่งขันไปทั้งคู่ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้มีการลงโทษตามมา ก็เลยทำให้เซนน่าได้เป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2 ของตัวเอง เช่นเดียวกับทางแม็คลาเรน-ฮอนด้าที่ได้แชมป์โลกประเภททีมผู้ผลิต

มีการวิจารณ์กันในวงกว้างถึงเรื่องนี้ว่าเป็นเพราะจงใจหรืออุบัติเหตุ แต่ที่แน่ๆ เรื่องของการแก้แค้นจากปี 1989 ถูกนำมาเกี่ยวโยง และพรอสต์ เองก็ให้สัมภาษณ์ว่า ‘เซนน่าเป็นบุคคลที่ไร้ค่าจริงๆ’ และพรอสต์กล่าวยอมรับในภายหลังว่าตัวเองเกือบจะเลิกแข่งรถหลังจากเกิดเหตุการณ์ในครั้งนั้น (แต่พรอสต์ก็เลิกแข่งจริงหลังคว้าแชมป์โลกในปี 1993 กับทีมวิลเลี่ยมส์)

ความจริงแล้วเรื่องนี้ เป็นผลมาจากทาง Balestre ที่มีส่วนในการทำให้เซนน่ารู้สึกว่าโดนเอาเปรียบ เพราะว่าเขาสลับตำแหน่งในการออกสตาร์ทจากที่ควรจะเป็นหลังจากที่พรอสต์ออกสตาร์ทในอันดับที่ 2 ซึ่งทำให้ทางเซนน่าถึงกับต้องประท้วงถึงเรื่องนี้ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกมองว่าเป็นการแก้แค้นในที่สุด เพราะ Balestre มีส่วนทั้งในเรื่องของการจับเขาดิสควอลิฟายจนพลาดแชมป์โลกในปี 1989 และพยายามที่จะทำให้เขาเสียเปรียบกับการแข่งขันในปีนี้อีกด้วย

เรื่องทุกอย่างจบลงด้วยการชำระแค้นแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน แต่ก็เกิดบาดแผลที่ไม่สามารถเยียวยาได้ระหว่างนักแข่ง 2 คนที่เคยเป็นเพื่อนร่วมทีมกัน

ayrton_senna_story_004

ในปี 1993 หลังจากที่ฮอนด้าแยกทางจากแม็คลาเรน ทีมแข่งของรอน เดนนิสไม่ได้มีศักยภาพเพียงพอที่จะคว้าแชมป์อีกต่อไป เพราะในยุคนี้ รถแข่งเข้าสู่การผูกขาดชัยชนะของเครื่องยนต์วี10 จากค่ายเรโนลต์ และทีมวิลเลี่ยมส์ เซนน่าเหลือสัญญากับแม็คลาเรนจนจบการแข่งขันซีซั่น 1993

ขณะที่แม็คลาเรนยังไม่สามารถหาทางออกเกี่ยวกับการต่อสัญญาได้ เพราะยังไม่สามารถหาพันธมิตรทางด้านเครื่องยนต์ที่ดีพอจะยกระดับทีมและมัดใจเซนน่าได้ วิลเลี่ยมส์ก็ได้ยื่นมือเข้ามาปั่นป่วนวงการอีกครั้ง โดยจัดการทาบเซนน่าเข้ามาร่วมทีมในปี 1994 ทั้งที่พรอสต์ นักแข่งของทีมที่เพิ่งคว้าแชมป์โลกในปี 1993 ยังเหลือสัญญาอีก 1 ปี ตรงนี้เชื่อว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้พรอสต์ตัดสินใจรีไทร์ออกจากการแข่งขัน เพราะดูแล้วทางพรอสต์เป็นคนที่มีบุลลิกยอมอ่อนและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ามากกว่าเซนน่าที่ออกแนวดุดัน พร้อมชนทุกสถานการณ์

ในปี 1994 ถือ เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎทางวิศวกรรม ระบบช่วยเหลือนักแข่งในการขับทั้ง ABS หรือระบบช่วงล่างแบบปรับระดับได้ถูกยกเลิก และวิลเลี่ยมส์ FW16 เป็นตัวแข่งที่มีความเร็วเป็นเยี่ยม แต่ก็ถูกระบุว่าเป็นรถแข่งที่ขับยากรุ่นหนึ่ง และเซนน่าก็ให้ความเห็นว่าตัวรถมีอาการแปลกๆ ตั้งแต่ช่วงซ้อมแล้ว ซึ่งเซนน่าก็ใช้รถแข่งรุ่นนี้ลงแข่งใน 2 สนามแรก และไม่สามารถแข่งขันจนจบ เรียกว่าเป็นการออกสตาร์ทที่แย่ที่สุด เพราะลงแข่ง 2 สนามโดยไม่มีคะแนนติดมือกลับมา แม้ว่าจะออกสตาร์ทในตำแหน่งโพล โพซิชั่นก็ตาม

สนามที่ 3 ในรายการซานมารีโน กรังด์ปรีซ์ คือ การแข่งขันครั้งสุดท้ายของเซนน่าอย่างที่หลายคนทราบ เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างการแข่งขัน เมื่อรถของเขาแหกโค้ง Tamburello และพุ่งเข้าชนกำแพงด้วยความเร็วในระดับ 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บอย่างหนักเนื่องจากถูกกระแทกด้วยชิ้นส่วนของตัวรถที่ศีรษะ ก่อนที่จะเสียชีวิตในเวลาต่อมาที่โรงพยาบาล
ส่วนสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุในครั้งนั้นก็ยังเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้

เรื่อง : กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย : กรังด์ปรีซ์ ออนไลน์ GRAND PRIX ONLINE
ติดตามข่าว รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ทดสอบรถ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

TagsAyrton SennaAyrton Senna da SilvaF1LotusMcLarenTolemanWilliamsไอร์ตัน เซนน่า
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • Lynk & Co 10 EM-P รถซีดานปลั๊กอินไฮบริดใช้ไฟฟ้าเดินทางได้เกือบ 200 กิโลเมตร
  • Koenigsegg Sadair’s Spear ไฮเปอร์คาร์รุ่นใหม่เน้นปรับปรุงสมรรถนะสำหรับสนามแข่ง
  • Lancia Ypsilon HF ตัวแรงของรถไฟฟ้ารุ่นเล็ก
  • ฟอร์ด ฉลองครบรอบ 29 ปี Growing Together-ส่งโปรฯ ช่วยผ่อน 29 งวด พร้อมแคมเปญพิเศษตอบแทนลูกค้า
  • New Mazda CX-3 Essential ขาย 4 รุ่น เริ่มต้นเพียง 699,000 บาท

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram