Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Bizz News
Home›Auto News›Bizz News›โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7 ส่งต่อแนวคิด “TSI Way”

โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7 ส่งต่อแนวคิด “TSI Way”

By ณัฐพล เดชสิงห์
May 28, 2025
44
0
Share:

โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7 ส่งต่อแนวคิด “TSI Way” เปิดศูนย์การเรียนรู้ สู่ผู้ประกอบการในภาคตะวันออก

นายสมพร กาญจน์นิรันดร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นายนันทวัฒน์ ศรีวรัตน์อัชกุล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นางสาวจริยจันทร์ จันทศาศวัต ผู้บริหาร บริษัท โตโยต้าจันทบุรี (1972) ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด และนางวรรณี บุญสวัสดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่ ร่วมเปิด “ศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 7” ณ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่” จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา

โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์

“โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” เกิดจากการที่โตโยต้าเล็งเห็นถึงความสำคัญของธุรกิจชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมุ่งหวังที่จะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนไทยให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มพูนกำไร และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” มาโดยตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา และมีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไปแล้วกว่า 39 ธุรกิจ ทั่วประเทศ

“วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่” จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียน มีผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดภายใต้ชื่อแบรนด์ “ป้าแกลบ” เป็นสินค้าขึ้นชื่อในจังหวัดจันทบุรี โดยมี คุณวรรณี บุญสวัสดิ์ เป็นผู้บริหาร ซึ่งทางวิสาหกิจฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงธุรกิจภายใต้โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ในปี พ.ศ. 2565 โดยโตโยต้าได้มีส่วนเข้าไปช่วยเหลือในลักษณะของการเป็น “พี่เลี้ยงทางธุรกิจ” ด้วยการนำแนวคิด “วิถีชุมชนพัฒน์ หรือ TSI Way” ผสมผสานร่วมกับภูมิปัญญาชุมชน ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของวิสาหกิจฯ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น

โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์

เริ่มจากการเข้าไปศึกษาดูกระบวนการทำงานจริงของวิสาหกิจฯ มองหาความสูญเปล่าในการดำเนินงานและปรึกษาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน พร้อมแนะนำวิธีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงานต่างๆ โดยใช้องค์ความรู้ด้านการผลิตของโตโยต้า ตลอดจนส่งเสริมการสร้างมาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพให้สม่ำเสมอ

โดยมุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจใน 5 ด้านหลัก ทั้งในด้านผลิตภาพ (Productivity) คุณภาพ (Quality) การส่งมอบสินค้าที่ตรงเวลา (Delivery) การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory) และต้นทุนในกระบวนการ (Work in process) ซึ่งมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานของวิสาหกิจฯ มีการพัฒนาและได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในด้านต่างๆอย่างเป็นรูปธรรม สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ และสร้างผลกำไร พร้อมทั้งมุ่งหวังให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน

โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์

“วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่” ได้นำแนวคิด “วิถีชุมชนพัฒน์ หรือ TSI Way” ของโตโยต้ามาปรับปรุงการดำเนินงานในธุรกิจทุเรียนทอดของตนเอง ดังนี้

  • ปรับปรุงกระบวนการคัดแยกเกรดและผ่าแยกเปลือกทุเรียนดิบ

จากเดิมที่เคยประสบปัญหาการคัดแยกเกรดทุเรียน เนื่องจากมีปริมาณมากและมีหลายเกรดวางปะปนกัน จนทำให้พนักงานไม่สามารถแยกลำดับความสุกและลำดับการนำไปผ่าก่อน-หลังได้ จนทำให้มีจำนวนทุเรียนตกค้างเนื่องจากสุกเกินกว่าจะนำไปผ่าเพื่อทอดเป็นทุเรียนทอด ถือเป็นความสูญเปล่าด้านวัตถุดิบ ทางโตโยต้าจึงแนะนำการปรับปรุงโดยการนำเข่งแยกสีมาใส่ทุเรียนตามเกรดพร้อมกำหนดจุดวางแยกสีให้ชัดเจน (Visualization) เพื่อให้ในการนำไปผ่า สามารถเรียงลำดับตามเกรดได้อย่างชัดเจนตามสีของเข่ง ว่าทุเรียนชุดไหนควรนำไปผ่าก่อน-หลัง มีส่วนช่วยทำให้สามารถลดและป้องกันการตกค้างของทุเรียนได้ พนักงานสามารถคัดแยกทุเรียนที่ต้องนำไปผ่าได้ง่ายและทำงานสะดวกยิ่งยึ้น สามารถลดปริมาณของเสียลงได้ 70% ลดต้นทุนได้ 4.8 แสนบาทต่อปี

  • ปรับปรุงกระบวนการผ่าแยกทุเรียนไปจนถึงกระบวนการสไลซ์แผ่นทุเรียน

จากเดิมที่เคยประสบปัญหาเรื่องการยกเข่งทุเรียนเข้าสู่กระบวนการผ่าแยก ไปจนถึงกระบวนการสไลซ์ให้เป็นแผ่น ซึ่งทำให้พนักงานต้องเสียเวลาในการขนย้ายเข่งทุเรียนเป็นเวลา 2นาที ต่อเข่ง รวมแล้ว 160 นาที ต่อวัน ทางโตโยต้าเล็งเห็นถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการเคลื่อนย้ายตรงจุดนี้ จึงได้นำแนวคิด Just in time มาปรับปรุงโดยการปรับแผนผังการทำงานในแต่ละขั้นตอนให้มีความต่อเนื่องกัน (Continuous flow) พร้อมเสริมด้วยการนำกลไกคาราคูริ (KARAKURI) ในรูปแบบของรางเลื่อนมาใช้ทุ่นแรงในการขนย้ายเข่งทุเรียนแทนการที่พนักงานต้องยกและเดินไปตามจุดต่างๆด้วยตนเอง สามารถลดเวลาในการเดินลงได้100% พนักงานทำงานสบายขึ้น และช่วยให้ประสิทธิผลในกระบวนการนี้เพิ่มขึ้น 49%   จาก 68 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง เป็น  102 กิโลกรัม/คน/ชั่วโมง

  • ปรับปรุงกระบวนการคัดเกรดทุเรียนหลังการทอด

จากเดิมที่เคยประสบปัญหาเรื่องการเสียเวลาอย่างมากในการร่อนคัดเกรดทุเรียน เนื่องจากมีขั้นตอนเยอะ อุปกรณ์ที่ใช้ร่อนทำได้ในปริมาณน้อย และสิ้นเปลืองกำลังคนที่ต้องใช้ในกระบวนการนี้ 3-4 คน จนเป็นปัญหาคอขวดในกระบวนการผลิต ทางโตโยต้าจึงช่วยออกแบบและสร้างเครื่องร่อนที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าแทนกำลังคน มาทดลองติดตั้งใช้จริงในกระบวนการ จนสามารถร่อนคัดเกรดทุเรียนได้จำนวนเพิ่มขึ้น 4 เท่า

  • ปรับปรุงกระบวนการสต็อกทุเรียนก่อนและหลังการอบ

จากเดิมที่เคยประสบปัญหาเรื่องทุเรียนในสต็อกมีหลายเกรดวางปะปนกัน พนักงานไม่ทราบว่าในสต็อกมีทุเรียนแต่ละเกรดจำนวนเท่าไร จะใช้หมดเมื่อไร และจำเป็นต้องเติมสต็อกเมื่อไร ทำให้เสียเวลามากในการค้นหาเพื่อนำไปใช้ ทางโตโยต้าจึงแนะนำการปรับแผนผังการจัดวางสต็อกใหม่ โดยกำหนดจุดวางและทำป้ายกำกับที่เห็นชัดเจน (Visualization)

พร้อมทั้งนำแนวคิด Just in time มาทำการปรับจำนวนสต็อกให้สอดคล้องกับปริมาณการขายในแต่ละเดือน รวมถึงกำหนดมาตรฐานการนำเข้าและออกของทุเรียนในสต็อกเพื่อควบคุม FIFO (First in first out) และช่วยลดเวลาการทำงานและค้นหาสินค้าในสต็อกของพนักงานลงได้ 7%

  • ปรับปรุงการวางแผนการบรรจุและการส่งมอบ

จากเดิมที่เคยประสบปัญหาเรื่องออเดอร์ตกค้างและการบรรจุล่าช้า เนื่องจากมีออเดอร์ลูกค้าที่ส่งมาจากฝ่ายขายเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยใบออเดอร์จะถูกนำมาวางปะปนกัน ไม่รู้ลำดับออเดอร์ก่อน-หลัง ขาดการวางแผนการบรรจุที่ดี ทางโตโยต้าจึงได้แนะนำการปรับปรุงโดยนำระบบควบคุมผ่านการมองเห็น หรือ Visual Control Board มาจัดทำเป็นบอร์ดวางแผนการบรรจุสินค้าให้พนักงานทุกคนได้รับทราบ โดยใบออเดอร์จากฝ่ายขายทุกใบ จะถูกนำมาเรียงลำดับในกล่องที่บอร์ดวางแผนการบรรจุ ช่วยให้ไม่เกิดสินค้าตกค้างจากออเดอร์ตกหล่นหรือหลงลืม พนักงานสามารถทราบยอดออเดอร์และการส่งมอบในแต่ละวัน พร้อมทั้งสื่อสารและติดตามความคืบหน้าของงานในกระบวนการของแต่ละคนได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามงานและสามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงเวลา 100%

โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์

โตโยต้าได้ส่งมอบโครงการแก่ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่” ภายหลังการปรับปรุงเสร็จสิ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2565 และได้ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พบว่า วิสาหกิจฯ ยังคงรักษาวัฒนธรรมการปรับปรุงและพัฒนาด้วยตนเองตามหลัก “วิถีชุมชนพัฒน์” อย่างต่อเนื่อง มีการจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงบริหารการดำเนินงานได้อย่างมืออาชีพ สามารถส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา 100% นอกจากนี้ วิสาหกิจฯ ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการปรับปรุงพื้นที่ดูงาน และการติดตั้งเครื่องร่อนคัดเกรดทุเรียน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานอีกด้วย

จากศักยภาพดังกล่าว บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ จึงเห็นชอบในการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาบายศรีอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ “โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์” แห่งที่ 7  ต่อจากศูนย์การเรียนรู้ 6 แห่ง ที่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงราย จังหวัดสงขลา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสระบุรี เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแบ่งปันประสบการณ์การปรับปรุงธุรกิจแก่ผู้ประกอบการที่สนใจในภาคตะวันออกและพื้นที่ใกล้เคียง ได้นำไปใช้ปรับปรุงธุรกิจของตนต่อไป

ทั้งนี้ โตโยต้ามุ่งหวังให้ศูนย์การเรียนรู้ฯ แห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการถ่ายทอดแนวคิดในการปรับปรุงธุรกิจ ส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กลุ่มธุรกิจชุมชนทั่วประเทศ สามารถนำไปต่อยอดในการขับเคลื่อนธุรกิจของตนเองและสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจของประเทศต่อไป

www.toyota.co.th

เรื่อง : ณัฐพล เดชสิงห์

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

TagstoyotaTSI Wayศูนย์การเรียนรู้โตโยต้าโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แห่งที่ 4
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • Porsche เผยโฉม Cayenne Electric สู่สาธารณชน-พรางตัวทดสอบสมรรถนะก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
  • สเปค และข้อมูลของ Ferrari Amalfi ซูเปอร์คาร์สไตล์ GT ขุมกำลัง V8 รุ่นล่าสุดจากมาราเนลโล่
  • Ferrari Amalfi ม้าลำพองตัวใหม่จากมาราเนลโล่-ยกระดับรถสปอร์ต GT ขุมกำลัง V8 630 แรงม้า
  • ‘เจม-นันทวุฒิ’ พลิกแซง 10 นาทีท้าย-คว้าแต้มศึกฟอร์มูล่า ยูโรเปี้ยน ที่ฮังการี
  • ‘เติ้น-ทัศนพล’ นักแข่งไทยคนแรกคว้าชัยชนะในศึกฟอร์มูล่า 3 รอบสปรินต์ เรซ ที่ซิลเวอร์สโตน

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram