Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
ReportSpecial Scoop
Home›Special Scoop›Report›พ.ร.บ. ตัวช่วยสำคัญของผู้ใช้รถสามารถเบิกจ่ายได้ 500,000 บาท 

พ.ร.บ. ตัวช่วยสำคัญของผู้ใช้รถสามารถเบิกจ่ายได้ 500,000 บาท 

By บรรณาธิการ
February 11, 2022
2687
0
Share:

“พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญชองผู้ใช้รถบนท้องถนนเพราะตัวช่วยแรกเวลารถประสบอุบัติเหตุ และที่สำคัญยังเป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องมี ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกทันที

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถช่วยเหลืออะไรบ้าง 

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย (แต่ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่เสียหาย)

-กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน 

-กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 500,000 บาทต่อหนึ่งคน (กรณีสูญเสียอวัยวะ ความคุ้มครองเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) 

-กรณีเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาทต่อหนึ่งคน 

-กรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล(คนไข้ใน) บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวันวันละ 200 บาท (จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน) 

ค่าเสียหายเบื้องต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้ 

-กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน 

-กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน 

-กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน 

หากเกิดความเสียหายหลายกรณีรวมกันจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคน 

(หมายเหตุ : กรณีผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัย จะได้รับความคุ้มครองไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น) 

 

ค่าใช้จ่ายสำหรับพ.ร.บ.รถยนต์ 

สำหรับค่าใช้จ่ายของพ.ร.บ รถยนต์ ต่อปี (รวมค่าอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

รถยนต์เก๋ง ที่นั่งไม่เกิน 7 คน 645.21 บาท 

รถยนต์กระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 967.28 บาท 

รถตู้ ที่นั่งเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,182.35 บาท 

 

ค่าใช้จ่ายสำหรับพ.ร.บ.จักรยานยนต์ 

สำหรับค่าใช้จ่ายของพ.ร.บ รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ต่อปี โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

ไม่เกิน 75 ซี.ซี. : 150 บาท 

เกินแต่ 75 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 125 ซี.ซี.​ : 300 บาท 

เกินแต่ 125 ซี.ซี. แต่ไม่เกิน 150 ซี.ซี. : 400 บาท 

เกิน 150 ซี.ซี. : 600 บาท 

 

การเตรียมเอกสารที่จะต้องใช้เวลาการเคลม พ.ร.บ. มีดังนี้ กรณีบาดเจ็บ 

-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ 

-ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ 

 

กรณีเบิกค่าชดเชย หรือ ผู้ป่วยใน 

-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ 

-ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน 

 

กรณีทุพพลภาพ 

-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ 

-ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ 

-สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ 

 

กรณีเสียชีวิต 

-สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ 

-ใบมรณะบัตร 

-สำเนาบัตรประชาชนทายาทสำเนาทะเบียนบ้าน 

-สำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เพราะการประสบภัยจากรถ 

เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถทำเรื่องขอเบิกเงิน จากบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่เราซื้อพ.ร.บ.มา ซึ่งสามารถดูได้ที่กรมธรรม์ และ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ สำหรับรถจักรยานยนต์  ซึ่งจะมีการเบิกจ่ายเงินภายใน 7 วัน โดยพ.ร.บ.จะคุ้มครองผู้เสียหายในส่วนของคนเท่านั้น ส่วนทรัพย์สิน หรือ ตัวรถจะไม่ได้รับการคุ้มครอง 

 

เรื่อง: กองบรรณาธิการ

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

TagsDriving Licence - Knowledgeค่าสินไหมพรบ.อุบัติเหตุทางรถยนต์เอกสารพรบ
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • KLX230 ใหม่ เอาใจสายลุย พร้อมปรับราคาใหม่สุดเร้าใจ
  • ฮีโน่และกรมการขนส่งทางบก ผนึกกำลังสานต่อ “โครงการสร้างนักขับมืออาชีพ ปีที่ 3” ยกระดับมาตรฐานการขนส่งไทย
  • เจาะ สเปค Xiaomi SU7 Ultra และเอสยูวีหรู YU7
  • ไพรม์มัส กรุ๊ป ยกทัพใหญ่ อวดโฉมรถใหม่ 5 แบรนด์ดังงาน Fast Auto Show Thailand 2025
  • Toyota Land Cruiser Hybrid 48V ขุมพลังไฮบริดใหม่ลุยตลาดยุโรป

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram