Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Report
Home›Special Scoop›Report›ปัญหาที่อาจเกิดเมื่อซื้อรถยนต์ไว้ใช้เชิงธุรกิจ

ปัญหาที่อาจเกิดเมื่อซื้อรถยนต์ไว้ใช้เชิงธุรกิจ

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
May 21, 2020
4720
0
Share:

สิ่งหนึ่งที่มักถูกซื้อไว้ในธุรกิจหรือซื้อในนามบริษัทมากที่สุดสิ่งหนึ่งก็คือรถยนต์ โดยอาจมีทั้งที่ใช้จริงและมีทั้งที่เพื่อนำค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์มาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท อย่างไรก็ตามรถยนต์ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งที่ซื้อไว้ในเชิงธุรกิจอาจสร้างปัญหาตามมาได้เมื่อมีการคำนวณภาษีหากรถที่ซื้อมีราคาแพง มีการใช้งานไม่นาน และมีการขายต่อ เพราะตัวเลขเกี่ยวกับรถยนต์นั่งทางบัญชีและทางภาษีอาจไม่เหมือนกัน

 

รถยนต์นั่งคืออะไร มีผลอย่างไร

ก่อนอื่นลองมาทำความเข้าใจกับคำว่ารถยนต์นั่งดูก่อน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต คำว่ารถยนต์นั่งจะหมายถึง รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งปกติ รวมไปถึงรถยนต์ในลักษณะเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวรด้านข้าง หรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่ง ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด ซึ่งถ้าจะสรุปง่ายๆ ก็คือรถยนต์ทั่วไปที่ใช้งานทั้งรถเก๋ง รวมทั้งรถกระบะ 4 ประตูเป็นรถยนต์นั่ง แต่อย่างไรก็ตามภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงของกรมสรรพสามิตซึ่งทำให้รถกระบะ 4 ประตูพ้นจากการเป็นรถยนต์นั่งตามกฏหมายตามพิกัดภาษีสรรพสามิต

ซึ่งการเป็นรถยนต์นั่งจะส่งผลต่อการคิดค่าเสื่อมราคา เพราะตามมาตรา 65 ตรี (20) และพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 315 ระบุไว้ว่า “ให้กิจการสามารถหักค่าเสื่อมราคามูลค่าต้นทุนของรถยนต์นั่งได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท”

 

ความแตกต่างทางมูลค่าระหว่างทางบัญชีกับภาษี

ด้วยการที่สามารถหักค่าเสื่อมราคามูลค่าต้นทุนของรถยนต์นั่งได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท จึงทำให้เกิดความแตกต่างทางบัญชีและภาษีได้ เมื่อซื้อรถที่มีราคาสูงกว่า 1 ล้านบาท เช่นกิจการที่ดำเนินอยู่ซื้อรถยนต์ใหม่ราคา 5 ล้านบาทและประมาณอายุการใช้งานไว้ที่ 5 ปี จะมีความแตกต่างทางบัญชีและภาษีเกิดขึ้นทันทีคือ ในทางบัญชีต้นทุนค่าที่คิดค่าเสื่อมราคาคือ 5 ล้าน บาทตามราคาจริงของรถ และมีค่าเสื่อมราคาต่อปี 1 ล้านบาทตามอายุการใช้งานที่ประมาณไว้ แต่ในทางภาษี ต้นทุนที่คิดค่าเสื่อมราคาของรถคันเดียวกันนั้นจะอยู่ที่ 1 ล้านบาท ทำให้ค่าเสื่อมราคาของการใช้งาน 5 ปีอยู่ที่ 200,000 บาทต่อปี

ความแตกต่างทางบัญชีและภาษีเมื่อขายรถ

ปัญหาความแตกต่างของต้นทุนที่คิดค่าเสื่อมราคาระหว่างทางบัญชีของธุรกิจและภาษีจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายรถคันนั้นออกไป โดยในทางบัญชีรถคันเดียวกับข้างต้นที่มีต้นทุนที่คิดค่าเสื่อมราคา 5 ล้านบาทเท่ากับราคาของรถ และมีค่าเสื่อมราคา 1 ล้าน บาทต่อปี เมื่อใช้งานไป 1 ปีจะหักค่าเสื่อมราคาเป็นเงิน 1 ล้านบาท ทำให้มีต้นทุนคงเหลือ 4 ล้านบาท แต่พอใช้รถครบ 1 ปีก็มีการขายรถคันนั้นไปในราคา 3 ล้านบาท สิ่งที่เกิดขึ้นในทางบัญชีคือขาดทุน 1 ล้านบาท

แต่ในทางภาษีรถคันเดียวกันนี้มีต้นทุนที่คิดค่าเสื่อมราคา 1 ล้านบาท เมื่อผ่านการใช้งาน 1 ปีจะหักค่าเสื่อมราคา 200,000 บาท ทำให้มีต้นทุนคงเหลือของรถ 800,000 บาท และเมื่อขายรถไปในราคา 3 ล้านบาท สิ่งที่เกิดขึ้นในทางภาษีคือได้กำไรจากการขายรถคันนั้น ซึ่งแตกต่างกับทางบัญชีที่บริษัทขาดทุนหลังจากขายรถไปแล้ว ซึ่งหมายความว่าต้องมีการเสียภาษีจากกำไรที่ได้มาจากการขายรถ

สรุปก็คือรถยนต์นั่งที่มีราคาเกินกว่า 1 ล้านบาทจะใช้เป็นต้นทุนทางภาษีได้เพียง 1 ล้านบาท และหากมีการขายรถยนต์นั่งคันนั้นไปในราคามากกว่าต้นทุนทางภาษี สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือกำไรทางภาษีที่ต้องยึดตามต้นทุนที่เกิดขึ้น ขณะที่ทางบัญชีของธุรกิจอาจรับรู้รายการนี้เป็นการขาดทุน

 

 

เรื่อง: กองบรรณาธิการ

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

TagsComparison - Searchขายรถรถยนต์นั่ง
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • Porsche เผยโฉม Cayenne Electric สู่สาธารณชน-พรางตัวทดสอบสมรรถนะก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
  • สเปค และข้อมูลของ Ferrari Amalfi ซูเปอร์คาร์สไตล์ GT ขุมกำลัง V8 รุ่นล่าสุดจากมาราเนลโล่
  • Ferrari Amalfi ม้าลำพองตัวใหม่จากมาราเนลโล่-ยกระดับรถสปอร์ต GT ขุมกำลัง V8 630 แรงม้า
  • ‘เจม-นันทวุฒิ’ พลิกแซง 10 นาทีท้าย-คว้าแต้มศึกฟอร์มูล่า ยูโรเปี้ยน ที่ฮังการี
  • ‘เติ้น-ทัศนพล’ นักแข่งไทยคนแรกคว้าชัยชนะในศึกฟอร์มูล่า 3 รอบสปรินต์ เรซ ที่ซิลเวอร์สโตน

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram