Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Tip&Technic
Home›Special Scoop›Tip&Technic›“เจ๊า” หรือ “เจ๊ง” 3 นาทีชีวิต เมื่อ ความร้อนเครื่องยนต์ขึ้นสูง

“เจ๊า” หรือ “เจ๊ง” 3 นาทีชีวิต เมื่อ ความร้อนเครื่องยนต์ขึ้นสูง

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
December 26, 2018
3955
0
Share:

หลายคนกำลังหมกมุ่นกับการเตรียมตัวเดินทางไกลในวันหยุดยาวช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง เหตุผลในการเดินทางมีทั้งการเพื่อการพักผ่อน การกลับบ้านหาคนที่รักและการเปลี่ยนบรรยากาศท่องเที่ยว แน่นอนว่าหากการเดินทางไปด้วยรถยนต์ สิ่งที่คุณไม่อาจจะไว้วางใจได้คือการเตรียมพร้อมตรวจเช็ครถก่อนเดินทาง

เรื่องของการตรวจเช็คคงมีหลายคนจัดแสดงข้อมูลเอาไว้ให้ได้รับรู้กันพอสมควร แต่ครั้งนี้เราจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สิ่งที่ควรจะทำเมื่อเกิดเหตุที่เรียกว่าความร้อนขึ้นสูง หรือเครื่องฮีต

อาการของความร้อนเครื่องยนต์ขึ้นสูงมันเกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะใหม่หรือรถเก่า ถ้ามันเกิดข้อผิดพลาดหรือมีปัจจัยอะไรสักอย่างเกิดขึ้น เครื่องยนต์ทำงานหนัก บรรทุกหนัก ขับขี่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ใช้ความเร็วสูงต่อเนื่อง ระบบระบายความร้อนมีการรั่วซึม พัดลมระบายความร้อนทำงานผิดปกติ น้ำมันเครื่องเสื่อมคุณภาพ ระดับการหล่อลื่นไม่เพียงพอ เผชิญกับการจราจรที่ติดขัดต่อเนื่องยาวนาน และอื่นๆ อีกมากมาย นี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดอาการความร้อนสะสมจนอุณหภูมิขึ้นสูงได้

สิ่งที่ควรจะทำเพื่อเอาตัวรอดจากความเสียหายที่มากมายหากปล่อยให้ความร้อนขึ้นสูงจนกระทั่งเครื่องยนต์ดับน็อกลงไป นั่นแปลว่าคุณจะต้องเสียเงินก้อนใหญ่สำหรับการแก้ไขเรื่องนี้ ในทุกการขับขี่จะต้องคอยสังเกต มาตรวัดแสดงอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์ว่าอยู่ในระดับไหน หากเพียงพบการขยับเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อยให้รีบ ปิดระบบปรับอากาศ หาพื้นที่ปลอดภัยเพื่อเข้าจอดรถด้วยความระมัดระวัง จากนั้นดับเครื่องยนต์ เปิดฝากระโปรงรถ ระวังชิ้นส่วนตัวรถที่มีอุณหภูมิสูง สังเกตดูตามจุดต่างๆ ของเครื่องยนต์มีการรั่วซึมของน้ำ น้ำมันเครื่อง อย่างชัดเจนหรือไม่ ดูที่หม้อพักน้ำ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

กระบวนการนาทีแห่งชีวิต คุณมีเวลาไม่เกิน 3 นาที ที่จะต้องทำการดับเครื่องยนต์ก่อนที่เครื่องยนต์จะเสียหาย นับตั้งแต่มาตรวัดความร้อนขึ้นสูงผิดปกติ หรือหากสามารถประคองรถเข้าจอดและดับเครื่องยนต์ได้ก่อนที่เครื่องยนต์จะน็อก คุณก็ยังพอจะลุ้นว่างานนี้จะ เจ๊า หรือ เจ๊ง

เมื่อดับเครื่องยนต์ได้ก่อนที่เครื่องยนต์จะดับน็อกไปเอง ต่อไปก็คือการรอ รอเวลาให้เครื่องยนต์ลดอุณหภูมิลง ยิ่งรอได้นานเท่าไหร่จะเป็นการดีที่สุด ส่วนมากมักใจร้อน รีบที่จะเปิดฝาหม้อน้ำและเติมน้ำเย็นลงไป ซึ่งมันเสี่ยงทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เพราะเราไม่รู้ว่าที่ความร้อนมันขึ้นนั้นแท้จริงมันมาจากสาเหตุอะไร การรอให้อุณหภูมิลดลง เพื่อที่จะสามารถจับตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ และเมื่อเติมน้ำเย็นลงไปในหม้อน้ำหรือหม้อพักจะอันตรายต่อชิ้นส่วนน้อยกว่า

ความร้อนเครื่องยนต์

อย่างน้อยใช้เวลาสักสองชั่วโมงเมื่อเครื่องยนต์เริ่มเย็นลง ให้ตรวจเช็คระดับน้ำในระบบ หม้อพัก หม้อน้ำ ค่อยๆ เติมน้ำเข้าไปดูว่าระดับได้ปกติจึงสตาร์ทเครื่องยนต์ ปล่อยเดินเบา ตรงนี้ระดับน้ำจะลดลงเล็กน้อย จึงทำการเติมให้เต็ม หากเครื่องยนต์ทำงานได้เป็นปกติ ระดับน้ำไม่ลดหายอย่างรวดเร็วแล้ว ก็ให้ฟังการทำงานของพัดลม ว่าทำงานหรือไม่ โดยคอยดูมาตรวัดความร้อนควบคู่กันไป เมื่อเข็มขึ้นมาในระดับที่วาล์วน้ำเริ่มเปิด พัดลมทำงานปกติ ก็สามารถเดินทางต่อไปได้

แต่หากเติมน้ำเข้าไปแล้ว น้ำหายเติมลงไปยิ่งหาย ลองชักก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาดูสีน้ำมันเครื่องถ้ามีน้ำเข้าไปนั่นคงเรื่องใหญ่ต้องซ่อมหนัก หรือถ้าเห็นจุดที่รั่วไหลนองลงพื้นก็ต้องแก้ไขถ้าทำได้ในจุดนั้น

ประเด็นคือต้องระวังการแสดงผลของมาตรวัด ถ้าเป็นแบบติดรถ ส่วนมากมันจะเป็นแบบที่ไม่ละเอียดเพียงพอ ถ้ามันขึ้นสูงมันมักจะร้อนสูงแล้ว มีเวลาเหลือน้อยให้รีบแก้ไข จึงเสี่ยงมากที่เครื่องยนต์จะเสียหาย หากหามาตรวัดความร้อนแบบแยกแสดงเป็นตัวเลขชัดเจนมาไว้สักตัวก็จะดีไม่น้อย

นั่นคือการเอาตัวรอดจาดความเสียหายครั้งใหญ่ที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้น อย่างไรเสียเตรียมพร้อมการเดินทางให้เต็มที่เพื่อการเดินทางที่มั่นใจ และหยุดพักรถพักคนในจุดที่ปลอดภัย เดินทางปลอดภัย สวัสดีปีใหม่ทุกท่านทุกคนเทอญ

 

 

เรื่อง โดย: ศิปิวรรธ ปานกลาง

เครดิต: ภาพ: http://vr-12.com / Auto Service Costs

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

TagsHeat - Fixความร้อนขึ้นความร้อนเครื่องยนต์หม้อน้ำรถยนต์
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • KLX230 ใหม่ เอาใจสายลุย พร้อมปรับราคาใหม่สุดเร้าใจ
  • ฮีโน่และกรมการขนส่งทางบก ผนึกกำลังสานต่อ “โครงการสร้างนักขับมืออาชีพ ปีที่ 3” ยกระดับมาตรฐานการขนส่งไทย
  • เจาะ สเปค Xiaomi SU7 Ultra และเอสยูวีหรู YU7
  • ไพรม์มัส กรุ๊ป ยกทัพใหญ่ อวดโฉมรถใหม่ 5 แบรนด์ดังงาน Fast Auto Show Thailand 2025
  • Toyota Land Cruiser Hybrid 48V ขุมพลังไฮบริดใหม่ลุยตลาดยุโรป

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram