Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Report
Home›Special Scoop›Report›เปรียบเทียบราคาน้ำมันไทย-เพื่อนบ้าน ทำไมราคาไม่เท่ากัน

เปรียบเทียบราคาน้ำมันไทย-เพื่อนบ้าน ทำไมราคาไม่เท่ากัน

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
January 24, 2020
3627
0
Share:
ราคาน้ำมัน

ประเด็นเรื่อง ราคาน้ำมัน ในเมืองไทย มักจะมีการถูกนำไปเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะบ้านในภูมิภาคอาเซียน และส่วนใหญ่มักจะเน้นไปที่ประเทศมาเลเซียเป็นหลักเพราะถือว่ามีพรมแดนติดต่อกัน แน่นอนว่าน้ำมันก็เหมือนกับสินค้าอื่นๆ อย่างเช่น รถยนต์ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดี เราจะพบว่าราคาขายในบ้านเรากับประเทศอื่นๆ ไม่เท่ากัน แม้ว่าจะเป็นรถยนต์รุ่นเดียวกันก็ตาม

เพราะอะไร ? ประเด็นหลักที่ถือว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศแตกต่างกันออกไป คือ โครงสร้างราคาขายปลีกต่างกัน ตามนโยบายด้านพลังงานของแต่ละประเทศ

สำหรับโครงสร้างราคาขายปลีกของไทย ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ

  1. ต้นทุนราคาเนื้อน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น อ้างอิงราคาตลาดกลางสิงคโปร์
  2. ภาษีต่างๆได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเทศบาล
  3. เงินสมทบกองทุนต่างๆได้แก่ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นกลไกรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีก และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  4. ค่าการตลาด

ไทยเป็นประเทศนำเข้าพลังงานสุทธิ เพราะมีน้ำมันไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น และในแต่ละปีต้องเสียเงินตรานำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศจำนวนมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมให้ใช้พลังงานอย่างประหยัด โดยมีการเก็บภาษีต่างๆ เพื่อจูงใจให้ประชาชนใช้อย่างประหยัด และนำเงินภาษีส่วนนี้มาใช้เป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งยังมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อนำมาใช้ลดผลกระทบในช่วงที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนสูง และเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำมาส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

แน่นอนว่าในแต่ละประเทศจะมีโครงสร้างทางด้านพลังงานที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ประเทศมาเลเซียที่มักจะเป็นตัวเปรียบเทียบกับเราอยู่เสมอ โดยโครงสร้างราคาขายปลีกของมาเลเซีย มีเพียง 2 ส่วน คือ

  1. ต้นทุนราคาเนื้อน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่น อ้างอิงราคาตลาดกลางสิงคโปร์เช่นเดียวกันกับไทย
  2. ค่าการตลาด

ที่สำคัญ คือ มาเลเซียเป็นประเทศส่งออกพลังงานสุทธิ ที่มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในแต่ละปีจำนวนมาก ***นอกจากรัฐบาลมาเลเซียจะไม่เก็บภาษี (ยกเว้นน้ำมัน RON97 ที่มีภาษี 6%) และเงินสมทบกองทุนต่างๆ จากน้ำมัน เนื่องจากมีรายได้จากการผลิตและส่งออกน้ำมันมาเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศโดยไม่ต้องพึ่งภาษีน้ำมัน แล้ว ยังมีการอุดหนุนราคาน้ำมันขายปลีกให้ต่ำกว่าความจริงอีกด้วย

อีกสิ่งที่มีความสำคัญและส่งผลต่อ ราคาน้ำมัน ขายปลีกหน้าปั๊มคือ ต้นทุนเนื้อน้ำมันแตกต่างกัน  จริงอยู่ที่ประเทศไทยกับหลายประเทศจะมีราคาหน้าโรงกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์เหมือนกัน ทำให้มีราคาที่ใกล้เคียงกัน แต่ต้นทุนค่าขนส่งต่างกัน 

ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับมาเลเซีย ตามสูตรการคำนวณราคาหน้าโรงกลั่นของไทย ต้นทุนค่าขนส่งของไทยสูงกว่ามาเลเซีย เนื่องจากระยะทางจากสิงคโปร์มาไทยไกลกว่าสิงคโปร์ไปมาเลเซีย ทำให้ต้นทุนเนื้อน้ำมันไทยแพงกว่าเล็กน้อย 

นอกจากนั้นคุณภาพน้ำมันของไทย ปัจจุบันใช้มาตรฐานขั้นต่ำคือยูโร 4 ขึ้นไป สูงกว่าคุณภาพน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ รวมทั้งมาเลเซียที่ใช้มาตรฐานต่ำสุดคือยูโร 2 จนถึงยูโร 5 จึงทำให้ต้นทุนในการผลิตของไทยสูงกว่า แต่ก็ส่งผลให้เกิดมลพิษน้อยกว่ามาก นี่คือจุดหลักๆ และเหตุผลที่ว่าทำไมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในแต่ละประเทศถึงแตกต่างกันออกไป

 

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

Tagsน้ำมันปรับราคาน้ำมันราคาน้ำมันเปรียบเทียบราคาน้ำมัน
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • พี80 โก King Long ส่งมอบพลังใจ ให้กลุ่มผู้เปราะบางในพระนครศรีอยุธยา
  • Porsche 911 Club Coupe รถผลิตจำกัดขายเฉพาะสมาชิกเท่านั้น
  • Maserati Mcpura ซูเปอร์คาร์รุ่นใหม่อีกเวอร์ชันของ MC20
  • MG ZS ใหม่ลุยตลาดฟิลิปปินส์ด้วยสามทางเลือกขุมพลัง
  • Porsche เผยโฉม Cayenne Electric สู่สาธารณชน-พรางตัวทดสอบสมรรถนะก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram