Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Report
Home›Special Scoop›Report›“เทอร์โบแปรผัน” สำคัญอย่างไร ทำไมถึงนิยม

“เทอร์โบแปรผัน” สำคัญอย่างไร ทำไมถึงนิยม

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
February 17, 2021
11954
0
Share:

ต่อยอดมาจากเรื่องของ “การทำความรู้จักกับเทอร์โบ” ในครั้งก่อนๆ มาแล้ว ตอนนี้ มาถึงยุคใหม่ ที่นิยม “เทอร์โบแปรผัน” กัน คงได้ยินกันบ้างนะครับ ย้อนไปในสมัยก่อน เป็นเทอร์โบแบบธรรมดาๆ จะได้ยินคำว่า “รอรอบ” เพราะต้องรอรอบเครื่องสูงหน่อย เพื่อให้แรงดันไอเสียเพียงพอที่จะไปดันใบเทอร์โบให้หมุนเร็วเพียงพอที่จะเกิด “แรงดันไอดี” หรือ “บูสต์” นั่นเอง เลยเป็นที่มาของคำว่า “เครื่องเทอร์โบรอรอบ” นั่นเอง…

ตอนหลังก็จะได้ยินกันอีกว่า “ต้นหาย ปลายมา” เป็นเรื่องของ “เทอร์โบขนาดใหญ่” คือ มันต้องการไอเสียมาก เพื่อที่จะบูสต์ มันเลยรอรอบเยอะ ตีนต้นเลยหาย แต่พอรอบปลายๆ พอมันบูสต์แล้ว ก็จะ “ดึงยาวๆ” ในลักษณะของรถแข่ง แรงสะใจ แต่ “ขับยาก” ไม่เหมาะกับการใช้งานในเมือง แต่ถ้าตรงกันข้าม “ต้นดี ปลายหด” เป็นเรื่องของ “เทอร์โบขนาดเล็ก” ที่โข่งหลังรีดเล็ก ทำให้ไม่ต้องการไอเสียมากก็บูสต์ได้แล้ว แต่ว่า ช่วงปลายๆ มันระบายไอเสียออกไม่ทัน เกิดความร้อนสูง ทำให้รอบปลายๆ ไม่ไป เสี่ยงจะพังง่ายอีกต่างหาก แล้วจะทำอย่างไรดี เพราะเราสามารถเลือกได้อย่างเดียว…

ถ้าจะ “เอาให้ดีทั้งหมด” ก็ต้องพึ่ง “เทอร์โบแบบแปรผัน” ที่จะตอบสนองได้ดีในทุกช่วงรอบ แล้วทำไม มันถึงทำได้ ลองดูเรื่องของ “รายละเอียด” ในด้านกลไกของมัน ที่แตกต่างจากเทอร์โบธรรมดาทั่วไปครับ…

  • มีครีบรีดอากาศที่โข่งหลัง : ลักษณะจะเป็นครีบรอบๆ ตัวครีบสามารถ “บีบแคบ” และ “เปิดกว้าง” ได้ โดยการควบคุมจากกล่อง ECU ซึ่งโดยมากรุ่นหลังๆ จะคุมด้วยไฟฟ้า ที่มีความแม่นยำสูง และ “กำหนดเงื่อนไขการทำงานให้เหมาะกับสภาวะการขับขี่ที่สุด” การทำงานของมัน ในรอบต่ำ ครีบจะบีบให้แคบ เพื่อ “รีดไอเสีย” ที่มีจำนวนน้อยให้ “ไหลได้เร็วขึ้น” ทำให้บูสต์มาเร็ว ในรอบสูง เหยียบคันเร่งมาก ไอเสียเยอะ ครีบจะเปิดกว้าง เพื่อให้ไอเสียเข้าได้เต็มๆ ทำให้ไม่เกิดการอั้น เครื่องยนต์ก็จะตอบสนองดีที่รอบปลายด้วย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล คอมมอนเรล ยุคใหม่ ที่เน้นการตอบสนองที่ดีตั้งแต่รอบต่ำ เหมาะสมสำหรับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมาก ซึ่งตอนนี้รถเก๋งระดับพรีเมียมยอดนิยมทั้งหลายก็พึ่งอภินิหารของไอ้หอยพิษแปรผันได้ตัวนี้…
  • VGT – VGS – VN – VNT สรุปมันคืออะไรกันแน่ : อาจจะได้ยินเหล่า “ชื่อย่อ” เหล่านี้ที่ใช้เรียก เทอร์โบแปรผัน ก็อาจจะพางงหน่อย แต่จริงๆ แล้ว “มันก็หน้าที่เดียวกัน” นั่นแหละครับ เพียงแต่เป็น “ชื่อทางการค้า” ของแต่ละบริษัท ยกตัวอย่าง VGT ก็จะเป็นของ HOLSET หรือ VGS ก็จะเป็นของ IHI รากมันก็มาจากคำว่า Variable Geometry Turbo System หรือ VNT ก็มาจาก Variable Nozzle Turbo เป็นของ GARRETT/HONEYWELL ประมาณนี้แหละครับ…
  • เรื่องราวที่น่าสนใจของเทอร์โบแปรผัน : เอาจริงๆ แล้ว มันก็ไม่ได้ว่าเพิ่งมีนะ เทอร์โบแปรผัน เริ่มมีครั้งแรกตั้งแต่ยุค “ฟิฟตี้” หรือ 1950 โดย GARRETT และรถญี่ปุ่นรุ่นแรกที่ใช้เทอร์โบแปรผัน คือ HONDA LEGEND ปี 1988 เครื่องยนต์ 0 ลิตร V6 ส่วนยุค 90 ก็จะเป็น PEUGEOT 405 T16 เป็นต้น ส่วนบ้านเราก็เพิ่งมาใช้เอาในช่วงปี 2000 ที่เครื่องดีเซล คอมมอนเรล เริ่มใช้ในบ้านเรา ตอนนั้นก็พวก “สายยุโรป” ต่างๆ ใช้กันก่อน แล้วก็ตามมาด้วยค่ายรถดีเซลบ้านเรา ตอนนั้นถ้าจำไม่ผิด (ถ้าจำผิดขออภัย) ค่ายแรกๆ น่าจะเป็น MITSUBISHI STRADA และ G WAGON เครื่อง 4D56 2.5 ลิตร ที่ตอนนั้นถือว่าเป็นรถที่มีสมรรถนะโดดเด่นใช้ได้เลย แต่ถ้านิยมและคุ้นจริงๆ ก็เป็น TOYOTA VIGO VN TURBO รุ่นปี 2010 นั่นแหละครับ…

 

 

เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี

Tagsknowlege - Lifestyleturboเทอร์โบ
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • Lynk & Co 10 EM-P รถซีดานปลั๊กอินไฮบริดใช้ไฟฟ้าเดินทางได้เกือบ 200 กิโลเมตร
  • Koenigsegg Sadair’s Spear ไฮเปอร์คาร์รุ่นใหม่เน้นปรับปรุงสมรรถนะสำหรับสนามแข่ง
  • Lancia Ypsilon HF ตัวแรงของรถไฟฟ้ารุ่นเล็ก
  • ฟอร์ด ฉลองครบรอบ 29 ปี Growing Together-ส่งโปรฯ ช่วยผ่อน 29 งวด พร้อมแคมเปญพิเศษตอบแทนลูกค้า
  • New Mazda CX-3 Essential ขาย 4 รุ่น เริ่มต้นเพียง 699,000 บาท

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram