Grand Prix Online

Main Menu

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us

logo

Header Banner

Grand Prix Online

  • HOME
  • AUTO NEWS
    • Bizz News
      • NEW COMER
      • MODEL/MINORCHANGE
      • WORLD MOVEMENT
      • Corporate News
    • Achive
      • Car
      • Motorcycle
    • Promotion
    • Motorsport
      • MOTORSPORT NEWS
      • RACE RESULT
  • Motorcycle
    • Round Up News
    • NEW MODEL
    • Bike Technic
  • SPECIAL SCOOP
    • TOKYO MOBILITY
    • Test drive
    • REPORT
    • Classic Car
    • Interview
    • Modified
    • Technology
    • Tip&Technic
    • Insurance Tips
    • Variety Scoop
    • BOY’S TOY
    • Video
  • ABOUT US
    • ADVERTISING
    • CONTACT US
    • PRIVACY POLICY
  • INVESTOR RELATIONS
  • Work with us
Report
Home›Special Scoop›Report›เจาะ ยก “ฝากระโปรง” แก้เครื่องฮีต หลักการจริงหรือแค่ “มโน”

เจาะ ยก “ฝากระโปรง” แก้เครื่องฮีต หลักการจริงหรือแค่ “มโน”

By นันทพงศ์ ภักดีบุตร
March 4, 2021
7863
0
Share:

อันนี้จะเป็นเทรนด์ฮิตของเหล่า “รถซิ่ง” ทั้งหลาย ที่มีการโมดิฟายเครื่องยนต์เพิ่ม เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่แบบแรงกว่าเดิม เมื่อมีแรงม้ามากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือเรื่องของ “ความร้อนที่สูงกว่าปกติ” ทำให้เกิดอาการ “โอเวอร์ฮีต” หรือ “ไข้ขึ้น” ก็จะมีแนวทางในการดิ้นรนเพื่อ “ระบายความร้อนเพิ่ม” ย้อนไปในยุค 90 ตอนนั้นเทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ยังไม่ดีมากนัก จึงมี “เทรนด์ฮิต” มากมาย เกี่ยวกับการ “โมดิฟายฝากระโปรง” ภายใต้ความเชื่อว่า “มันจะช่วยไม่ให้เครื่องร้อนเกินไปได้” แต่จะทำอะไรกันบ้าง และ “ได้ผลจริงไหม” หรือว่า “แค่มโน” เราจะมาชี้แจ้งแถลงไขให้ท่านรับชม…

เผยอฝากระโปรง : ไม่ใช่ปิดฝากระโปรงไม่สนิทนะครับ แต่ว่าจะเป็นการเอาบูชรอง (Hood Tilt Spacer) ซึ่งเคยมีเป็นของแต่งออกมาขายอยู่พักหนึ่ง เอามารองที่ “ขาบานพับ” เพื่อให้ฝากระโปรง “กระดกขึ้น” โดยความเชื่อ คือ “ให้ลมร้อนในห้องเครื่องระบายออกได้มากขึ้น จะได้เครื่องไม่ฮีต จริงๆ แล้ว “ไม่เกี่ยว” เพราะการทำแบบนี้ สิ่งที่ “อาจจะได้มา” คือ “การระบายความร้อนในห้องเครื่อง” อันนี้ไม่เถียง แต่เมื่อวิ่งเร็วๆ แล้ว ลมที่พัดผ่านมาด้านบนฝากระโปรง จะมี “ความเร็วสูง” กว่าลมที่ออกจากห้องเครื่องแน่ๆ ทำให้ “ไม่เกิดการระบายความร้อนออก” เพราะการระบายความร้อนที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็น “การนำความร้อนออกจากแผงระบายความร้อนหม้อน้ำ” ให้เร็วที่สุด ถ้าระบบหม้อน้ำ หรือ ระบบระบายความร้อนของตัวรถไม่เพียงพอ มีปัญหา เผยอให้ตายมันก็ไม่เย็นลงครับ ฝนตก น้ำเข้าห้องเครื่อง แถมไอร้อนยังขึ้นกระจกทำให้เกิดฝ้า มองทางไม่เห็นอีก จึงไม่เห็นประโยชน์อะไรจากตรงนี้ครับ…

สคู้ปดักลม : จริงๆ แล้วอันนี้ จะออกแบบมาให้สำหรับรถที่ “มีเทอร์โบ” และ “ติดตั้งอินเตอร์คูลเลอร์ไว้ด้านบนเครื่อง” เช่น SUBARU IMPREZA, TOYOTA CELICA GT – FOUR หรือ TOYOTA VIGO/FORTUNER ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการ “เป่าหม้อน้ำ” เพราะจะใช้ลมจากด้านหน้าซึ่งเยอะและแรงกว่าอยู่แล้ว (ในกรณีรถวิ่ง) ถ้าไปเจาะติดตั้งเฉยๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการระบายความร้อนจากหม้อน้ำเลย อีกอย่าง รถเดิมๆ ที่ใช้สคู้ปแบบนี้ จะมี “ถาดรองใต้อินเตอร์คูลเลอร์” เพื่อระบายน้ำออกด้านข้าง ป้องกันน้ำลงบนเครื่องหรืออุปกรณ์จุดระเบิด ที่จะทำให้มีปัญหาได้ ถ้าไปเจาะใส่แบบซี้ซั้ว ระวังนะครับ เดี๋ยวไฟช็อตขึ้นมามันจะยุ่ง…

ช่องลมบนฝากระโปรง : อันนี้จะเห็นได้ในฝากระโปรงแต่ง หรือ รถแบบ Hi – Performance ที่จะเห็นฝากระโปรงมีช่องลมแบบต่างๆ ฝรั่งเรียกว่า Aero Bonnet อันนี้จะเอาไว้ “ระบายลมออกจากห้องเครื่อง” นะครับ เมื่อลมเป่าจากด้านหน้ามีความเร็วสูง ปริมาณมาก ผ่านหม้อน้ำ เข้ามาในห้องเครื่อง มันจะ “ตัน” แล้วลมจะเข้าอีกได้ยาก ทำให้ต้อง “ระบายลมร้อนออก” ไปบนฝากระโปรงแทน แต่ช่องลมพวกนี้ “ไม่ได้เอาไว้ดักลม” นะครับ องศาครีบระบายจะไปคนละทางกัน อันนี้จะมีผลสำหรับรถแบบ Hi – Performance จริงๆ รถบ้านทั่วไปไม่มีผลอะไรขนาดนั้น แต่ส่วนมากจะใส่เพราะ “แฟชั่นฝากระโปรงคาร์บอนเจาะรู” เน้นสวยงาม ถ้าจะใส่ต้องระวังเรื่อง “น้ำเข้าไปโดนจุดสำคัญ” นะครับ เพราะของที่ทำจากโรงงาน จะมี “ถาดรองน้ำ” ให้ไหลไปในทิศทางที่ไม่โดนจุดสำคัญ ถ้าไม่มี ฝนตกทีก็ “เละ” แหละครับ โอกาสที่จะทำให้ระบบไฟฟ้าในรถช็อตบรรลัยจักรก็มีสูง…

 

บทสรุปในเรื่องนี้ การที่เครื่องยนต์เกิดปัญหาเรื่อง “ความร้อนขึ้นสูง” นั้น เราควรจะพิจารณาแก้ไขที่ “ต้นเหตุ” คือ “ระบบระบายความร้อน” เช่น พัดลมทำงานปกติไหม บางทีทำงานแต่ไม่ปกติ ด้วยความเสื่อมสภาพ หม้อน้ำตัน หรือ ไม่พอ สำหรับรถที่โมดิฟายเพิ่ม รวมไปถึงปัญหาจากตัวเครื่องยนต์เอง ควรจะตรวจสอบและซ่อมบำรุงให้ปกติก่อนที่จะคิดไปยุ่งกับการดัดแปลงฝากระโปรง จากประสบการณ์ตรง ผมเคยเจาะฝากระโปรงใส่ครีบระบาย แต่ท้ายสุด มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะปัญหาจริงๆ มันไม่ได้อยู่ตรงนั้น พอแก้ปัญหาถูกจุดก็จบเรื่อง กลับมาใส่ฝากระโปรงเดิมก็ไม่มีปัญหาอะไร การดัดแปลง หรือ เปลี่ยนแปลง รูปแบบฝากระโปรง จึงมีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป ไว้คราวหน้าจะว่ากันถึง “ฝากระโปรงคาร์บอน” ว่ามันมีประโยชน์แท้จริงคืออะไร ควรใส่หรือไม่…

 

เรื่อง : อินทรภูมิ์ แสงดี

เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE

ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th

Tagsknowlege - Lifestyleฝากระโปรงรถยกฝากระโปรงเจาะฝากระโปรง
0
Shares
  • 0
  • +
  • 0
  • 0

บทความแนะนำที่น่าสนใจ

บทความ รีวิว รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านสมรรถนะ ที่น่าสนใจ
บทความ รถออกใหม่ ที่น่าสนใจ
บทความ รถครอบครัว ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านราคารถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านดีไซน์รถ ที่น่าสนใจ
บทความ ด้านการซื้อรถ ที่น่าสนใจ
บทความเรื่องรถที่น่าสนใจ

About

logo_grandprix_online2016full

Grandprix Online กรังด์ปรีซ์ออนไลน์ ผู้นำข่าวสารยานยนต์

Thailand Automotive news leader and auto show. Our mission is the leading source of news about the global automotive industry.

Recent Posts

  • Lynk & Co 10 EM-P รถซีดานปลั๊กอินไฮบริดใช้ไฟฟ้าเดินทางได้เกือบ 200 กิโลเมตร
  • Koenigsegg Sadair’s Spear ไฮเปอร์คาร์รุ่นใหม่เน้นปรับปรุงสมรรถนะสำหรับสนามแข่ง
  • Lancia Ypsilon HF ตัวแรงของรถไฟฟ้ารุ่นเล็ก
  • ฟอร์ด ฉลองครบรอบ 29 ปี Growing Together-ส่งโปรฯ ช่วยผ่อน 29 งวด พร้อมแคมเปญพิเศษตอบแทนลูกค้า
  • New Mazda CX-3 Essential ขาย 4 รุ่น เริ่มต้นเพียง 699,000 บาท

Advertising

สนใจลงโฆษณา
ติดต่อ : 02-522-1731-8

  • Facebook
  • Youtube
  • Instagram