“คำว่า ‘ไบโอดีเซล’ คงคุ้นหูกัน แต่ความหมายจริงๆ ของคำๆ นี้ เชื่อว่า หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ วันนี้เรามาลงรายละเอียดกันตั้งแต่พื้นฐานของไบโอดีเซลกันเพื่อรับกับกระแสที่ได้กลายมาเป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานสำหรับเมืองไทย สำหรับไบโอดีเซลนั้นก็คือเชื้อเพลิงที่เกิดจากการน้ำมันพืชจากปาล์ม ไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชใช้แล้วมามาทำปฏิกิริยาทางเคมีทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่นได้เป็นสารเอสเทอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลแล้วนำส่วนที่ได้มาผสมกับน้ำมันดีเซลปกติตามสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้งานโดยที่ไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ซึ่งในปัจจุบัน น้ำมันไบโอดีเซลที่ถูกใช้ในโลกนี้มีหลากหลายแบบ ตั้งแต่ ทั้ง B2B5 B7 B20 B40 และ B100 ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามสัดส่วนของการผสมไบโอดีเซลลงไป (B7 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 6.6 – 7% น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 9 – 10% และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 มีสัดส่วนไบโอดีเซล 19 – 20%) แต่สำหรับบ้านเรา ที่มีขายใน ณ ตอนนี้ คือ B7 B10และ B20 โดยตัว B10 ได้ถูกวางให้เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานสำหรับตลาดเมืองไทยเพื่อทดแทนของเดิมคือ B7 ภายในปีนี้ โดยกระทรวงพลังงานวางนโยบาย และกลุ่มปตท. ได้ร่วมผลักดันพัฒนาคุณภาพน้ำมันและโรงกลั่นเนื่องจากประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาผลิตเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้น นโยบายการเพิ่มสัดส่วนการผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่สูงขึ้น จะทำให้สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาจากการนำเข้าได้มากขึ้นตามสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ปกติการใช้ B7 วันละประมาณ 60 ล้านลิตร ดังนั้น หากดีเซล B10 เป็นดีเซลฐาน ทำให้สามารถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 ของปริมาณการใช้ดีเซล หรือประมาณวันละ 1.8 ล้านลิตรเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังช่วยทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้ได้สะอาดขึ้น ลดปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 และยังช่วยพยุงราคาปาล์มน้ำมันเพื่อช่วยเกษตรกรไทยอีกด้วย เรื่อง : กองบรรณาธิการ เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed